• ดูแลห่วงใย ใส่ใจทุกบริการ
  • 026454124
  • jusco160@gmail.com
    justco logojustco logojustco logojustco logo
    • หน้าแรก
    • เกี่ยวกับเรา
      • ประวัติของโรงพยาบาล
      • คณะทีมสัตวแพทย์
      • ทีมพยาบาลสัตว์
    • บริการของเรา
      • อายุรกรรมทั่วไป
      • ศัลยกรรม
      • คลินิกโรคหัวใจ
      • คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
      • คลินิกโรคระบบประสาท
      • คลินิกโรคผิวหนัง
      • คลินิกกระดูกและข้อ
      • คลินิกโรคแมว
      • คลินิกโภชนาการสัตว์เลี้ยง
      • คลินิกกายภาพบำบัด และ เวชศาสตร์ฟื้นฟู
      • ศูนย์รักษาด้วย Laser
      • คลินิกโรคตา
      • คลินิกอัลตราซาวด์
      • คลินิกรังสีวินิจฉัย
      • บริการเสริม
    • บทความของเรา
    • ภาพบรรยากาศ
      • ภาพลูกค้าที่มาใช้บริการ
      • ภาพการรักษาสัตว์เลี้ยง
      • อุปกรณ์และเครื่องมือ
    • แพ็คเกจ และโปรโมชั่น
    • ติดต่อเรา

    มี (อะ) ไรในหู

    • Home
    • ข่าวสาร
    • มี (อะ) ไรในหู
    ครบรอบ 3 ปี จัสโก้ รัชดา
    กันยายน 7, 2019
    พยาธิเม็ดเลือดตัวร้าย ตอนที่1
    ตุลาคม 28, 2019

    เรื่อง : สพ.ญ. ศราวลี ศภุกาญจน์ (คุณหมอนุ่น)

    คันหู ไรในหู- ในช่องหูชั้นนอกของสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวสามารถเป็นแหล่งอาศัยของเพื่อนตัวจิ๋วได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) เชื้อยีสต์ (Yeast) หรือไรในหู (Ear mite)

    ไรที่เจอในหูเป็นไรในสกุล Otodectes spp. เมื่อมาอาศัยในหู ไรจะกินเศษผิวหนังและของเหลวจากผิวหนังชั้นนอกสุด ทำให้สัตว์เลี้ยงของเราเกิดอาการคัน อาจพบว่ามีการเกาหูมากกว่าปกติหรือสะบัดหัวบ่อยๆ ถ้าเกามากจะมีรอยแดงบริเวณหู ในบางตัวเกามากจนเกิดแผลที่กระจกตาเกิดเป็นการเจ็บตาตามมา หรือถ้าสะบัดหูแรงๆ อาจจะเกิดเลือดคั่งบริเวณใบหู พบใบหูบวมขึ้น นอกจากอาการคันแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่เจ้าของสามารถสังเกตว่าผิดปกติได้คือ ขี้หู ถ้ามีขี้หูมากกว่าปกติ หรือมีลักษณะของขี้หูที่แปลกไปก็อาจจะบอกว่ากำลังมีไรอยู่ในหูสัตว์เลี้ยงของเราได้เหมือนกัน และเมื่อมีไรในหูก็มักจะตามมาด้วยหูชั้นนอกอักเสบบจากเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ซ้ำเติมไปอีกต่อ

    จริงๆ แล้วไรในหูนั้นติดได้ทุกช่วงอายุและไม่จำเป็นจะต้องอาศัยอยู่แค่ในช่องหู แต่ส่วนมากเราจะพบการติดในลูกสัตว์มากกว่าสัตว์ที่โตแล้วทั้งสุนัขและแมว โดยลูกสัตว์เหล่านี้ก็มักจะติดไรในหูมาจากแม่ด้วยความที่เป็นเด็กน้อยยังไม่เคยได้รับการหยดยาป้องกัน และยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่ได้แข็งแรงนักทำให้ไรหูที่ติดมาเพิ่มจำนวนไปเรื่อยๆ ซึ่งไรหูสามารถติดกันได้ง่ายโดยเฉพาะเมื่อเลี้ยงร่วมกัน จากการสัมผัสกันโดยตรงของสัตว์ตัวหนึ่งที่มีไรในหูกับสัตว์อีกตัวก็ทำให้รับไรหูต่อกันไป

    การรักษาและการป้องกันไรในหูคล้ายๆ กันคือ เป็นการทำความสะอาดเช็ดหูและการใช้ยาหยดที่สามารถกำจัดไรในหูได้ แต่การรักษาจะใช้ความถี่ในการทำความสะอาดและการหยดยาที่มากกว่าการป้องกัน สำหรับการป้องกันโดยทั่วไปเจ้าของควรเช็ดทำความสะอาดช่องหูชั้นนอกด้วยน้ำตาเช็ดหูเป็นประจำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ร่วมกับการหยดยาที่สามารถฆ่าไรในหูได้อย่างเป็นประจำทุกเดือนหรือทุก 3 เดือนแล้วแต่ชนิดของยาที่เลือกใช้ค่ะ

    อ่านถึงตรงนี้เจ้าของท่านไหนกำลังสงสัยว่ามี (อะ) ไรอยู่ในหูสัตว์เลี้ยงของเราหรือไม่สามารถพามาให้คุณหมอตรวจได้ เพียงแค่เก็บตัวอย่างขี้หูไปตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์ เจ้าของสามารถรอผลตรวจได้เลยในวันที่มาตรวจ หรือถ้าต้องการคำปรึกษาเรื่องการรักษาและการป้องกันไรในหูก็สามารถเข้ามาหาเราที่โรงพยาบาลสัตว์จัสโก้รัชดา หรือติดต่อโรงพยาบาลได้ทุกช่องทางค่ะ โรงพยาบาลของเรามีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ในการตรวจและยาในการรักษาไรในหู เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของสัตว์เลี้ยงทุกตัวค่ะ

    Share
    2

    Related posts

    มาทำอาหารให้สัตว์เลี้ยงกันเถอะ

    พฤศจิกายน 1, 2022

    วันทำอาหารให้สัตว์เลี้ยง (National Cook For Your Pets Day)


    Read more

    สัตว์เลี้ยงของเราอ้วนเกินไปหรือเปล่า ?

    ตุลาคม 14, 2022

    วันสัตว์เลี้ยงตัวอ้วน


    Read more
    โรงพยาบาลสัตว์คชาเว็ท และ โรงพยาบาลสัตว์โปรเวท

    ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงานภายในโรงพยาบาลสัตว์คชาเว็ท

    ตุลาคม 5, 2022

    ภาพบรรยากาศการศึกษาดูงานของคณะผู้บริหารโรงพยาบาลสัตว์โปรเวท และโรงพยาบาลในเครือ 4 แห่ง


    Read more

    หมาแมวกินเจได้หรือเปล่า

    กันยายน 28, 2022

    หมาแมวสามารถกินเจได้หรือเปล่า!?


    Read more

    แมวตกตึก อุบัติเหตุหลักสำหรับแมวที่ถูกเลี้ยงในคอนโด

    กันยายน 15, 2022

    แมวตกตึก


    Read more